เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[2205] 1. สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาเห็นรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตา ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภรูปนั้น ราคะ ย่อมเกิด
ขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิญญาณ
แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมมณปัจจัย.
[2206] 2. อนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลพิจารณาจักษุ ฯลฯ กายะ ฯลฯ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่
อิทธิวิธญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

[2207] 3. อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณา
กุศลกรรมนั้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล
พิจารณา นิพพาน.
นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว
พิจารณากิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ.
พิจารณาหทยวัตถุฯลฯ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ อาโปธาตุ กวฬี-
การาหาร ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆ-
ธรรม ด้วยเจโตปริยญาณ.
อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ด้วยอำนาจของ
อารัมมณปัจจัย, อากิญจัญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญนาสัญญายตนะ.

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโต-
ปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ
แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติปัจจัย


[2208] 1. สนิทัสสนสัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำรูปให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่นแล้ว ครั้นกระทำรูปนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น
[2209] 2. อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุ ฯลฯ กายะ เสียง
กลิ่น ฯลฯ โผฏฐัพพะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ครั้น กระทำจักษุ
เป็นต้นนั้นให้อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
[2210] 3. อนิทัสสนอัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิทัสสน-
อัปปฏิฆธรรม ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย